9 อาการน่าสนใจของมนุษย์ ที่เป็นเหมือนกลไกการป้องกันตัวเอง

กลไกการทำงานของร่างกายนั้นเรียกว่าเป็นระบบที่มีความซับซ้อนละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจได้ง่ายเท่าไรนัก ในบางครั้งร่างกายต้องสร้างบางสิ่งขึ้นมาเพื่อช่วยต่อต้าน และเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ชีวิตนั้นเกิดความสงบสุข และมีร่างกายแข็งแรง และนี่ก็คือ 9 อาการน่าสนใจของมนุษย์ ที่เป็นเหมือนกลไกการป้องกันตัวเองที่เราได้นำมาให้ทุกคนได้ทราบกัน ไปติดตามกันเลยดีกว่าว่าอาการเหล่านั้นมีอะไรบ้าง

#1 การหาว

แท้จริงแล้วมันคือการปกป้องสมองจากการทำงานหนักจนเกิดความล้าหรือมีอุณหภูมิสูงเกินไป รวมถึงการขาดออกซิเจน ร่างกายจึงเพิ่มออกซิเจนเข้าไปผ่านการหาวนั่นเอง

#2 การจาม

เรามักจะจามเวลาที่ระบบหายใจสูดเอาจุลินทรีย์, ฝุ่น, สิ่งแปลกปลอมหรือสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ดังนั้นการจามออก ก็เปรียบเสมือนการกำจัดขยะเหล่านี้ออกจากร่างกายนั่นเอง

#3 การบิดขี้เกียจ

ใครว่าบิดขี้เกียจคืออาการของคนเกียจคร้าน เพราะความจริงการบิดขี้เกียจ คือกลไกเตรียมพร้อมของร่างกายในการเผชิญกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน มันช่วยยืดกล้ามเนื้อ, สร้างการหมุนเวียนของระบบโลหิต และยังส่งผลต่ออารมณ์ของเราอีกด้วย

#4 สะอึก

อาการน่าหงุดหงิด ที่เกิดจากเส้นประสาท pneumogastric เกิดการระคายเคือง ซึ่งมันเป็นเส้นประสาทที่อยู่ใกล้กระเพาะอาหารและกระบังลม สาเหตุที่มันถูกรบกวนมาจากการรับประทานอาหารเร็วเกินไป รับประทานคำโตเกินไป หรือรับประทานมากเกินไป

#5 ฝันว่าตกจากที่สูง

อาการชวนหัวใจวายที่เวลาเราเคลิ้มๆ แล้วพลันนึกว่าตัวเองจะตกจนต้องสะดุ้งตื่น มีคำอธิบายว่า อาการดังกล่าวเป็นผลมาจากช่วงที่เราหลับ กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย, ชีพจรเต้นช้า, อัตราการหายใจแผ่วลง ซึ่งสมองจะเข้าใจว่า เรากำลังจะตาย มันจึงสั่งการให้ระบบร่างกายกลับมาทำงานอีกครั้ง แต่ก็มีบางทฤษฎีอธิบายว่า มันเป็นกลไกสมัยที่บรรพบุรุษเรายังนอนบนต้นไม้หรือยังต้องเสี่ยงกับสัตว์ป่า การสะดุ้งตื่นจะทำให้พ้นภัยจากการถูกทำร้าย

#6 อาการปลายนิ้วเหี่ยวย่น

อ๊ะๆ!! อันนี้ไม่ได้หมายถึงเหี่ยวตามวัย แต่เป็นอาการผิวเหี่ยวเวลาโดนน้ำนานๆ ซึ่งจะเกิดที่ปลายนิ้ว แต่เดิมเราเชื่อว่ามันเกิดจากภาวะผิวหนังดูดซึมน้ำมากเกินไปจึงขยายตัวจนเหี่ยวย่น แต่มีทฤษฎีใหม่ที่เชื่อว่า มันช่วยให้เราจับยึดสิ่งต่างๆ ขณะที่ผิวเปียกชื้นดีขึ้น (คล้ายๆ ดอกยางรถยนต์นั่นแหละ)

#7 ภาวะหลงลืม

การสูญเสียความทรงจำ เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย หนึ่งในคำอธิบายเกี่ยวกับกลไกการปกป้องร่างกายก็คือ สมองต้องการจะลบความทรงจำหรือประสบการณ์ที่เลวร้ายออกไป เพื่อช่วยไม่ให้เราต้องเผชิญกับภาวะจิตตก หรือทนทุกข์กับความทรงจำที่ไม่ปราถนา

#8 ขนลุก

อาการที่มักจะเกิดขึ้นเวลาเราเย็นวาบ ซึ่งมันก็คือการป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกายทางรูขุมขน ช่วยให้ร่างกายคงอุณหภูมิเดิมได้เวลาเราเจอกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ …มิใช่ผีผ่านแต่อย่างใด

#9 ร้องไห้

น้ำตาไหลพรากๆ ซึ่งมีสองแบบ แบบแรกคือ น้ำตาไหลเวลาที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา น้ำตาก็จะช่วยหล่อลื่น และพาเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา

กับอีกแบบคือการร้องไห้ที่เกี่ยวกับอารมณ์ ซึ่งมีคำอธิบายว่า ยามเจ็บปวด เสียใจ สะเทือนอารมณ์ การร้องไห้จะเป็นการสร้างภาวะระคายเคืองทางกายภาพ ซึ่งมันจะเป็นจุดหันเหความสนใจของเรา เพื่อช่วยให้ลืมภาวะทางอารมณ์แล้วหันไปจัดการกับน้ำตาที่เปรอะหน้าแทน

เครดิต brightside.me

แบ่งปัน