พวกเราคงรู้จักไดโนเสาร์กันมาเป็นอย่างดี เพราะเรื่องราวของพวกมันนั้นโด่งดังมากในหนังและสารคดี แต่รู้หรือไม่หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับหลักฐานที่ค้นพบเท่าไหร่นักอาจจะเป็นเพราะหลักฐานต่างๆ ที่ได้มานั้นเป็นหลักฐานที่ได้มาเพิ่มเติมในตอนหลังซึ่งไปขัดกับความรู้ดั่งเดิมนั่นเอง และนี่คือ 9 เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่ทุกคนอาจกำลังเข้าใจผิดอยู่ จะมีอะไรบ้างไปอ่านกันเลย
#1 ความเข้าใจผิด : ไดโนเสาร์มีผิวหนังคล้ายกิ้งก่า
จริงๆ แล้วไดโนเสาร์นั้นมีความใกล้เคียงกับนกมากกว่าโดยเฉพาะเทอโรพอด ไดโนเสาร์มีสะโพกแบบนกและมีโครงสร้างเหมือนกัน
อีกทั้งไดโนเสาร์จะไม่มีหนามหรือเกล็ดตามตัวแบบที่เราเข้าใจกันแต่จะมีขนแบบนกต่างหาก ซึ่งเรื่องที่ไดโนเสาร์เป็นกิ้งก่ายักษ์เป็นความคิดแบบเก่าๆ ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว (แต่ในหนังก็ยังคงยึดภาพไดโนเสาร์แบบเดิมเอาไว้ เป็นเหตุผลด้านความนิยมนั่นเอง) T-Rex เมื่อมีขนปกคลุมร่างกาย
#2 ความเข้าใจผิด : สไปโนซอรัสกับจระเข้เป็นญาติกัน
จริงๆ แล้วสไปโนซอรัสไม่มีความเกี่ยวข้องกับจระเข้เลยแม้แต่นิดเดียว ถึงแม้ว่าสไปโนซอรัสจะมีกระโหลกและการทำงานที่คล้ายกับจระเข้ก็ตาม แต่มันก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
แล้วจระเข้เกิดมาได้ไง?
ยุคกำเนิดจระเข้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 248 ล้านปีก่อนโดยต้นตระกูลจระเข้นั้นมีนามว่า โปรเทอโรซูคัส (Proterosuchus) มีลักษณะคล้ายกับจระเข้ แต่ก็ยังไม่ใช่จระเข้ร้อยเปอร์เซ็น ยังคงเป็นสัตว์เลื้อยคลานกึ่งจระเข้เท่านั้น
พวกจระเข้เต็มร้อยเริ่มปรากฏเมื่อตอนช่วงกึ่งกลางมหายุคมีโซโซอิคหรือ ยุคจูราสสิก 206 ถึง 144 ล้านปีก่อนและได้ดำรงชีวิตอยู่ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ที่กำลังรุ่งเรืองนั่นเอง
#3 ความเข้าใจผิด : ไทแรนโนซอรัสกับอัลเบอร์โตซอรัสคือตัวเดียวกัน
ไดโนเสาร์ 2 ชนิดนี้ผู้คนมักจะสับสนกันเนื่องจากว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมันทำให้คนเข้าใจผิดว่าไทแรนโนซอรัสล่าพาราซอโรโรฟัสเป็นอาหารแต่จริงๆ แล้วไทแรนโนซอรัสและพาราซอโรโรฟัสอยู่คนละยุคกัน ซึ่งเจ้าที่ล่าพาราซอโรโรฟัสที่เรามักจะเห็นในสารคดีนั่นก็คือเจ้า อัลเบอร์โตซอรัส นั่นเอง ซึ่งการเข้าใจผิดครั้งนี้ทำให้อัลเบอโตซอรัสถือว่าเป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ใต้เงาของทีเร็กซ์ตลอดเวลา
รูปข้างล่างเป็นรูปที่คนหลายๆ คนคิดว่าตัวในภาพเป็นทีเร็กซ์ ความจริงมันคือ อัลเบอร์โตซอรัส
#4 ความเข้าใจผิด : อัลโลซอรัสมีความยาว 12 เมตร
จริงๆ แล้วอัลโลซอรัสมีความยาวเต็มที่ ที่ 9-10 เมตรเท่านั้น แต่เจ้าที่ยาว 12 เมตรไม่ใช่อัลโลซอรัส แต่เจ้านี่คือเอสแพนเตอร์เลียสซึ่งมันอยู่ตระกูลอัลโลซอร์เหมือนกันกับอัลโลซอรัสและมีหน้าตาที่คล้ายกันมาก
นอกจากนี้มันยังอยู่ยุคเดียวกันกับอัลโลซอรัสอีกด้วย เอสแพนเตอร์เลียสมีชื่ออีกชื่อว่า อัลโลซอรัส แอมเปิ้ลซัส ส่วนอัลโลซอรัสที่แท้จริงคือ อัลโลซอรัส ฟากิลิส
#5 ความเข้าใจผิด : ไทรเซราทอปส์พุ่งชนแบบแรด
จริงๆ แล้วไทรเซราทอปส์ไม่สามารถพุ่งชนได้ เนื่องจากการชนจะทำร้ายตัวมันเองมากกว่าเป้าหมายที่มันพุ่งชนซะอีก ดังนั้นไทรเซราทอปส์น่าจะมีเขาไว้ขวิดแบบกระทิงซะมากกว่าที่จะพุ่งชนแบบแรด
#6 ความเข้าใจผิด : บาริออนิกซ์มีขนาดใหญ่พอๆ กับไทแรนโนซอรัส
บาริออนิกซ์ในความจริงเป็นเทอโรพอดขนาดกลางไม่ได้ใหญ่และเล็ก โดยบาริออนิกซ์มีความยาว 8.5 เมตร และมีความสูง 2.8 เมตร ในขณะที่ทีเร็กซ์ยาว 12 เมตร สูง 4 เมตร ซึ่งกระแสที่ทำให้บาริออนิกซ์ดูมีขนาดใหญ่กว่าก็คือภาพยนต์อนิเมชั่นเรื่อง ไอซ์ เอจ นั่นเอง
#7 ความเข้าใจผิด : ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด
หนังสือหลายๆ เล่ม และสื่อหลายๆ สื่อ มักจะตอบคำถามไปคนละแบบ บ้างก็ตอบว่า อัลตราซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด บ้างก็ตอบว่าไซส์โมซอรัสใหญ่ที่สุด และบ้างก็ตอบมาแอมพิซีเลียสใหญ่ที่สุด ซึ่งในความจริงแล้วไดโนเสาร์ 3 ตัวดังกล่าว เป็นไดโนเสาร์ที่ถูกยุบและถูกเข้าข่ายว่าไม่มีจริง
อัลตราซอรัสเป็นชิ้นส่วนที่ค้นพบในประเทศเกาหลีซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของการกะขนาดกระดูกและปัจจุบันถูกยุบไปแล้ว ส่วนไซส์โมซอรัสถูกยุบรวมกับไดโพโดคัส และ แอมพิซีเลียสก็ถูกเข้าข่ายว่าไม่มีอยู่จริงเนื่องจากกระดูกของมันถูกพบในช่วงสงครามกระดูกซึ่งเป็นช่วงที่คน 2 ฝ่ายแข่งกันหากระดูกไดโนเสาร์และสร้างภาพสร้างกระดูกปลอมมามากมาย ดังนั้นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดจึงตกอยู่ที่อาเจนติโนซอรัสซึ่งมีความยาวถึง 39 เมตรนั่นเอง
#8 ความเข้าใจผิด : เวโลซีแร็พเตอร์ ตัวเท่าไก่
ทั้ง 2 ตัวนี้ถือว่าเป็นประเด็นดังมากในเรื่อง Jurassic Park ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมากอย่างเช่น แร็พเตอร์ใน Jurassic Park มีขนาดเกินจริงไม่สมจริงตัวจริงตัวเท่าไก่เอง หรือแร็พเตอร์ไม่มีการค้นพบในอเมริกาซะหน่อยอยู่มองโกลต่างหาก
แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด ที่จริงใน Jurassic Park ทำถูกแล้วเนื่องจากเขาไม่ได้เอาเวโลซีแร็พเตอร์มองโกลเลียนเซนซิสที่ตัวเท่าไก่ แต่เขาเอาเวโลซีแร็พเตอร์แอนโทพิทุสมาต่างหาก
ซึ่งเวโลซีแร็พเตอร์ แอนโทพิทุส ค้นพบอยู่อเมริกาอีกด้วย แต่ใน Jurassic Park ก็ยังทำตัวใหญ่กว่าของจริงนิดหน่อย แต่มันก็ไม่ถือว่าผิดเสกลเนื่องจากเวโลซีแร็พเตอร์ในหนังไม่ใช่พันธุ์แท้ 100% เพราะมีส่วนผสมของ DNA สัตว์ยุคปัจจุบันด้วย
#9 ความเข้าใจผิด : เทอโรซอร์ โมซาซอร์ ไพโลซอร์ และ เพลสซิโอซอร์ เป็นไดโนเสาร์
สัตว์ทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว ไม่ใช่ไดโนเสาร์แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในยุคเดียวกันกับไดโนเสาร์ ซึ่งสัตว์ทั้ง 4 ตัวดังกล่าวจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับนกแต่จะมีความเกี่ยวข้องกับกิ้งก่ามากกว่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าเจ้าพวกนี้เป็นไดโนเสาร์
เทอโรซอร์
โมซาซอร์
ไพโลซอร์
เพลสซีโอซอร์
เครดิต pantip.com