10 สิ่งที่หลายๆ คนมักเข้าใจผิด คิดว่ามีต้นกำเนิดในประเทศไทย

สิ่งต่างๆ ในประเทศของเรา เช่น ปลา รึ หอย เราก็มักจะคิดไปเองว่า สิ่งเหล่านี้น่ะเกิดในไทย เพราะชื่อของมันก็ไทยมาก แต่หารู้ไม่ว่าแท้จริงแล้วหลายๆ อย่างน่ะมีต้นกำเนิดจากต่างประเทศ และนี่คือ 10 สิ่งที่หลายๆ คนมักเข้าใจผิด คิดว่ามีต้นกำเนิดในประเทศไทย จะมีอะไรบ้างไปติดตามกันได้เลย

#1 ปลานิล

ปลานิลแค่ชื่อก็ไทยแล้วจะเกิดจากเมืองนอกได้ยังไง? แต่ความจริงก็คือสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ คือผู้ที่ส่งเจ้าปลาชนิดนี้มาถูลทวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งอันที่จริงมันมาจากดินแดนไกลโพ้นในแอฟริกา ทางแถบแม่น้ำไนล์ ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่าปลานิลโดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) และมันก็ยังได้กลายเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศไทยไปแล้ว

#2 ปลาเทศบาล (ปลาซัคเกอร์)

เจ้าปลาดูดพวกนี้มีต้นตอมาจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เดิมทีมันเป็นปลาที่ถูกเลี้ยงในตู้ปลาสีสันสดใสเพราะมันจะคอยทำความสะอาดทุกอย่าง หรือพูดง่ายๆ ว่ามันเขมือบสิ่งสกปรกทุกอย่างที่ขวางหน้านั่นเอง อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าซัคเกอร์หลุดลงในแม่น้ำปกติ มันก็ผลาญระบบนิเวศจนพังกระจุย เพราะแย่งอาหารของปลาชนิดอื่นแบบราบคาบ

#3 หอยทากยักษ์

นี่คือหอยที่หลายคนคงเคยเห็น แต่จริงๆ มันมาจากแอฟริกา และครั้งหนึ่งเคยเป็นที่นิยมในฐานะสัตว์สวยงามประดับตู้ แต่เจ้าของก็เกิดอาการเบื่อ จึงเริ่มนำมันไปทิ้ง ที่นั่นบ้าง ที่โน่นบ้าง และในที่สุดมันก็ขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้งจนอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้

#4 หอยเชอรี่

แม้ชื่อของมันจะฟังดูบ๊องแบ๊ว แต่สำหรับชาวนาชาวไร่ มันคือโคตรศัตรูตัวฉกาจที่ทำให้หลายคนปวดหัวกันมาแล้ว ซึ่งต้นกำเนิดของมันมาจากแอฟริกาใต้และมักถูกเลี้ยงในตู้ปลาสวยงามเพื่อช่วยขจัดคราบสิ่งสกปรก ตลอดจนตะไคร่ แต่แล้วเมื่อมันหลุดลงมาสู่แม่น้ำในไทย อาณาจักรของมันก็ขยายใหญ่และรุกรานชาวนาตราบจนปัจจุบัน

#5 ผักตบชวา

ผักตบชวามันไม่ใช่ของไทย หากแต่เกิดในแม่น้ำอเมซอนที่บราซิลโน่น และผู้ที่นำเข้ามาก็คือบุคคลผู้ติดตาม ร.5 นั่นเอง ซึ่งเกิดความประทับใจในความงดงามจนนำกลับมาเพาะพันธุ์

#6 ดอกบัวตอง

เชื่อมั้ยล่ะว่าดอกบัวตองมาจากเม็กซิโก แต่ต่อมาบาทหลวงในอำเภอขุนยวน ที่แม่ฮ่องสอนได้นำมาเพาะพันธุ์จนเกิดเป็นความงดงาม ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

#7 เต่าญี่ปุ่น (เต่าแก้มแดง)

อันนี้คงไม่ต้องบอกก็น่าจะเดาได้ว่ามาจากญี่ปุ่นนั่นล่ะ แต่ต่อมาคนไทยที่พบเห็นตามแหล่งน้ำทั่วไปก็จะมักจะเรียกกันว่าเต่าแก้มแดง ซึ่งมันเป็นลักษณะน่ารักประจำตัวของมัน

#8 หอยกะพงเทศ

หอยกะพงเทศมีที่มาที่ค่อนข้างบู๊นิดหน่อย เนื่องจากกว่ามันจะมาถึงไทยได้ มันก็ต้องเกาะหนึบมากับเรือเดินสมุทร ซึ่งมันเกาะแบบเหนียวแน่นมาตั้งแต่ฝั่งทวีปอมเริกาแถบมหาสมุทรแปซิฟิคเชียวล่ะ

#9 ไมยราบยักษ์

เจ้าต้นหนีบๆ ที่เด็กๆ ทั้งหลายชอบเอามือไปจิ้มๆ แท้จริงแล้วเมล็ดของมันถูกนำเข้าจากอินโดนีเซีย และเดิมทีมันถูกวางแผนในการใช้เป็นปุ๋ยสดของแต่ละไร่ ทว่าความทนทานต่อสภาพอากาศของมันทำให้เจ้าไมยราบแพร่พันธุ์พรึ่บพรั่บ จนกระจายไปทั่วประเทศ

#10 ปลาหางนกยูง

ปลาสีสวยที่หลายคนหลงรักเหล่านี้ แท้จริงมาจากแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งได้เข้ามาสู่ประเทศไทยตอนสมัย รัชกาลที่ 5 และมันก็ทนได้ทุกสภาพน้ำ แถมออกลูกอย่างรวดเร็วอีกด้วย และปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้มันอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้

แบ่งปัน